CLIL : Content and language Integrated Learning
CLIL หมายถึง “การเรียนรู้ตามแนวการบูรณาการ เนื้อหาและภาษา” โดยมีจุดประสงค์เพื่อแนะนำแนวคิดและความคิดใหม่ๆให้นักเรียนที่เรียนหลักสูตรวิชาภาษาแบบดั้งเดิม เพื่อการสื่อสารภาษาต่างประเทศในระดับกลาง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้นักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการบูรณาการระหว่างสองสาระการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่ได้จากการทับซ้อนกันโดยตรง ระหว่างเนื้อหาวิชาและการใช้ภาษาต่างประเทศ
หลักการจัดการเรียนรู้ภายในชั้นเรียน
- ภาษาใช้ในการเรียนรู้เช่นเดียวกับใช้ในการสื่อสาร
- วิชาเป็นตัวกำหนดเนื้อหาการเรียนการสอน
- ภาษาใช้ในการเรียนรู้เช่นเดียวกับใช้ในการสื่อสาร
- วิชาเป็นตัวกำหนดเนื้อหาการเรียนการสอน
สาระการเรียนรู้ : ความก้าวหน้าของความรู้ ทักษะ และความเข้าใจ ซึ่งเชื่อมโยงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ของหลักสูตร
การสื่อสาร : การใช้ภาษาในการเรียนรู้ในขณะที่เรียนรู้ที่จะใช้ภาษา
กระบวนการรับรู้ : พัฒนาทักษะการคิดที่เชื่อมโยงกับรูปแบบความคิดทั้งความเข้าใจที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมและ ความเข้าใจในภาษา
วัฒนธรรม : การเปิดรับมุมมองที่แตกต่างและความเข้าใจร่วมกันซึ่งทำให้มีความตระหนักรู้ในตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้น
การฟัง : กิจกรรมปกติที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ภาษา
การอ่าน : ใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีความหมายในการให้ข้อมูลที่สำคัญ
การพูด : เน้นที่ความคล่องแคล่วเป็นสำคัญ รองลงมาคือ ความถูกต้อง
การเขียน : ชุดของกิจกรรมการวิเคราะห์คำศัพท์ที่นำมาผ่านไวยากรณ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่
บทเรียน CLIL นั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้
- บูรณาการทั้งทักษะและภาษา และบูรณาการระหว่างทักษะการรับรู้กับการผลิต
- บทเรียนมักอิงจากการอ่านและการฟังข้อความ บทความหรือบทสนทนา
- จุดเน้นของภาษาในบทเรียนซึ่งไม่คำนึงถึงการจัดลำดับโครงสร้างการให้ผลการเรียน
- หน้า ที่และการนำไปใช้นั้น มีบริบทของเนื้อหาวิชาเป็นตัวกำหนด
- ภาษาเป็นกระบวนการวิเคราะห์คำศัพท์มากกว่าจะเป็นระบบไวยากรณ์
- รูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนขึ้นอยู่กับงานประเภทต่างๆ
โครงสร้างบทเรียน
บทเรียน CLIL มีโครงสร้าง 4 ลำดับขั้น ดังนี้
1. กระบวนการ ของเนื้อหา นักเรียนต้องการเครื่องหมายของโครงสร้างที่เป็นข้อความที่จะช่วยในการแสวงหาวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเนื้อหา ซึ่งเครื่องหมายนี้อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ (หัวข้อ,หัวข้อย่อย) และ / หรือเกี่ยวกับแผนภาพสำหรับภาพประกอบที่จะช่วยให้นักเรียนได้เห็นสิ่งที่กำลังอ่านอยู่ได้ดียิ่งขึ้น
2. ตัวชี้วัดและการจัดองค์ความรู้ในตำราเรียนมักจะแสดงแผนภาพของโครงสร้างที่เรียกกันว่า “แผนภาพความคิด” ซึ่งใช้สำหรับช่วยนักเรียนให้จัดหมวดหมู่ความคิดและข้อมูลของเนื้อหาด้วยการใช้แผนภาพสำหรับลำดับความคิด เช่น วิธีใช้แผนภาพตารางที่อธิบายบุคคลและสถานที่ เป็นต้น โดยโครงสร้างนี้ถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้และสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ที่จะเน้นทั้ง การพัฒนาทักษะด้านภาษาและสาระความรู้
3. การวินิจฉัยภาษา นักเรียนส่วนใหญ่สามารถถอดใจความสำคัญจากเนื้อหาแล้วน ามาสร้างเป็นคำของตนเองได้และจากการที่ผู้เรียนจะต้องใช้ทั้งสองอย่างนี้ในลักษณะภาษาที่ซับซ้อนมากขึ้นโดยที่ไม่มีระดับของภาษามาเกี่ยวข้อง จึงเป็นแนวคิดที่ดีที่ครูจะเน้นย้ำคำที่มีประโยชน์จากเนื้อหาและแบ่งประเภทคำตามหน้าที่ เพราะผู้เรียนอาจต้องการเปรียบเทียบและเปรียบต่างหรือต้องการบอกตำแหน่งหรืออธิบายกระบวนการแต่บางทีก็ยังอาจจะต้องการคำเชื่อมความ กริยาวิเศษณ์หรือบุพบทวลี คำศัพท์ที่ใช้ร่วมกัน สำนวนกึ่งตายตัว หรือชุดวลี ซึ่งนักเรียนก็สนใจพอกันกับศัพท์เฉพาะและศัพท์ทางวิชาการ
4. งานของนักเรียน ควรจะคำนึงถึงความหลากหลายในงานของนักเรียน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ตัวนักเรียน และความถนัด รวมทั้งกิจกรรมที่เน้นทักษะการรับรู้ ได้แก่ การฟัง การอ่าน และการปฏิบัติ
ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมการฟัง
- ฟังและทำเครื่องหมายในรูปแบบของแผนภาพ รูปภาพ แผนที่ กราฟ ตาราง ฯลฯ
- ฟังและเติมคำตอบ
- ฟังและจดบันทึกข้อมูลจำเพาะ เช่น วันที่ ใจความสำคัญ หรือเวลา เป็นต้น
- ฟังและเรียงลำดับข้อมูล
- ฟังและระบุตำแหน่งที่ตั้ง ผู้พูด สถานที่ ฯลฯ
- ฟังและทำเครื่องหมายขั้นตอนของกระบวนการ วิธีการ และลำดับความต่อเนื่องของเนื้อหา
- ฟังและเติมคำลงในช่องว่างของเนื้อหา ผลงานต่าง ๆ ที่จัดให้ของนักเรียนทำจะต้องมุ่งเน้นให้เข้ากับวิชา โดยให้เกิดการนำคำและเนื้อหากลับมาใช้ซ้ำ
กิจกรรมการพูด
- ถามคำถามต่อเนื่อง, ถามตอบ, คำศัพท์และความหมาย, จับคู่ประโยคที่มีครึ่งเดียว
- กิจกรรมเติมข้อมูลลงในช่องว่างโดยมีการใช้กระดาษคำถามเป็นตัวช่วย
- ค้นหา “สิ่งที่รู้” และ “สิ่งที่อยากรู้”
- เกมส์ทายคำ
- ใช้แบบสำรวจภายในชั้นเรียน
- เกมส์ 20 คำถาม โดยเตรียมเค้าโครงภาษาเพื่อช่วยเหลือในการตอบคำถาม นักเรียนนำเสนอข้อมูลจากภาพโดยใช้เอกสารที่สนับสนุนด้านภาษา
บทสรุป
กระบวนการของ CLIL มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับกระบวนการและการสนับสนุนผลสัมฤทธิ์ด้านภาษา โดยมีกลยุทธ์การสอนเพื่อการอ่านและฟังภาษา การวิเคราะห์คำศัพท์เพื่อการพูดและเขียนภาษา ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นทั้งครูสอนภาษาและสอนเนื้อหาวิชาอื่นๆด้วย หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นโอกาสที่ครูที่สอนวิชาอื่นได้สอนและพัฒนาทักษะด้านภาษา ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือสาระของการสอนแบบ CLIL
สื่อการสอน CLIL เรื่อง Magic Milk
ขอบคุณนะคะ
ตอบลบ