การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา (CALL)
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI)
ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted
Instruction ซึ่ง ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ป็นภาษาไทยว่า “การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย”แต่คำศัพท์ดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมใช้กัน
โดยมักใช้คำว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน”กันมากกว่า หรือที่เรียกย่อๆว่า CAI นอกจากคำว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว
ยังมีคำศัพท์อีกหลายคำที่เกี่ยวข้องกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการศึกษาแต่มีความหมายแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำมาใช้ได้แก่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
( CAI
: Computer Assisted Leaning )
- คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนภาษา ( CALL : Computer
Assisted Language Learning)
- การสอนการอบรมที่อาศัยคอมพิวเตอร์( CBT :Computer
Based Training Teaching )
- การเรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก (CBL: Computer Based Instruction Learning)
- การสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ( CBI : Computer Based Instruction)
- การใช้คอมพิวเตอร์จัดการในการสอน (CMI : Computer Managed Instruction )
- การเรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก (CBL: Computer Based Instruction Learning)
- การสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ( CBI : Computer Based Instruction)
- การใช้คอมพิวเตอร์จัดการในการสอน (CMI : Computer Managed Instruction )
นักการศึกษาได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้
ดังต่อไปนี้
สุกรี
รอดโพธิ์ทอง ( 2532:54 ) กล่าวว่า
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเนื้อหาหรือทบทวนวิชา
โดยเฉพาะในแต่ละหน่วยของเนื้อหาวิชาจะบอกถึงวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมและการประเมินผล
มีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และเทคนิคการออกแบบการสอนแบบต่างๆเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ฉลอง ทับศรี ( 2538:1
) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน
ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนด้วยตนเองเป็นหลัก
สุรางค์
โคว้ตระกูล ( 2536:237 ) กล่าวว่า
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
ใช้ในการทบทวนบทเรียนการทำแบบฝึกหัด
การติวและการสร้างสถานการณ์จำลองช่วยในการสอนแก้ปัญหา
ล็อคคาร์ด (1990:164) ได้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์โดยตรงในการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นสื่อสาร 2 ทิศทางกับคอมพิวเตอร์ในการตอบคำถามและการได้รับผลย้อนกลับในการตอบทันที
ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ
และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที
2. ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ
3. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้
4. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว
5. ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง
เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
6. สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
7. ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น
8. ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท
9. ประหยัดเวลาและงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
10. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
แก้ปัญหาและฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
สรุป คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง
การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้เรียน
มีปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบระหว่างผู้เรียน พร้อมทั้งส่งผลย้อนกลับได้ทันที
มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL
(Computer-assisted language learning program)
ผ่าน บาลโพธิ์ (2539) อธิบายลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา หรือCALL
(Computer-assisted language learning program) ไว้ว่า
โปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน
หรือ CAI คือ มีการเสนอเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง
มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น
ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม
แต่ CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน
โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน
และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access
learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์
Computer-assisted language learning (CALL)
Computer-assisted
language learning (CALL) is succinctly defined in a seminal work by Levy
(1997: p. 1) as "the search for and study of applications of the computer
in language teaching and learning".[1] CALL embraces a wide range of ICT applications
and approaches to teaching and learning foreign languages, from the
"traditional" drill-and-practice programs that characterised CALL in
the 1960s and 1970s to more recent manifestations of CALL, e.g. as used in a
virtual learning environment and Web-based distance learning. It also extends
to the use of corpora and concordancers, interactive whiteboards,
Computer-mediated communication (CMC), language learning in virtual worlds, and
Mobile-assisted language learning (MALL).
The term CALI
(Computer-assisted language instruction) was in use before CALL, reflecting its
origins as a subset of the general term CAI (Computer-assisted instruction).
CALI fell out of favour among language teachers, however, as it appeared to
imply a teacher-centred approach (instructional), whereas language teachers are
more inclined to prefer a student-centred approach, focusing on learning rather
than instruction. CALL began to replace CALI in the early 1980s (Davies &
Higgins 1982: p. 3) and it is now incorporated into the names of the growing
number of professional associations worldwide.
An alternative term,
Technology-enhanced language learning (TELL), also emerged around the early
1990s: e.g. the TELL Consortium project, University of Hull.
The current philosophy
of CALL puts a strong emphasis on student-centred materials that allow learners
to work on their own. Such materials may be structured or unstructured, but
they normally embody two important features: interactive learning and
individualised learning. CALL is essentially a tool that helps teachers to
facilitate the language learning process.
It can be used to reinforce what has been already
been learned in the classroom or as a remedial tool to help learners who
require additional support.
The design of CALL materials
generally takes into consideration principles of language pedagogy and
methodology, which may be derived from different learning theories (e.g.
behaviourist, cognitive, constructivist) and second language learning theories
such as Stephen Krashen's monitor hypothesis.
See Davies et al.
(2011: Section 1.1, What is CALL?).[7] See also Levy & Hubbard (2005), who
raise the question Why call CALL "CALL"?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น