Action Research

บทคัดย่อ / Abstract

ชื่อเรื่อง                    การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์
                   โดยใช้การเล่าเรื่อง
คณะผู้วิจัย                 นางสาวขวัญฤดี  บุญพันธ์  นางสาวกนกพร  ชินบุตร 
                   นางสาวกนกวรรณ  เรืองชาญ  นางสาวนิรมล  สมร
อาจารย์ที่ปรึกษา          รองศาสตราจารย์  ดร.  ธูปทอง  กว้างสวาสดิ์

บทคัดย่อ

           ความมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้เพื่อ  (1)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเล่าเรื่องด้วยหุ่นมือ  การเล่าเรื่องจากภาพ  และการเล่าเรื่องโดยการแสดงบทบาทสมมติ  (2)  เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์จากการเล่าเรื่องด้วยหุ่นมือ  การเล่าเรื่องจากภาพ  และการเล่าเรื่องโดยการแสดงบทบาทสมมติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1 จำนวน  36  คน  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา  ตำบลตลาด  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การเล่าเรื่องโดยเทคนิคการเล่าเรื่องด้วยหุ่นมือ  การเล่าเรื่องจากภาพ  และการเล่าเรื่องด้วยการแสดงบทบาทสมมติ  จำนวน  4  แผน  แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษ  และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้  t-test dependent
           ผลการวิจัยพบว่า  (1)  ผลการเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเล่าเรื่องด้วยหุ่นมือ  การเล่าเรื่องจากภาพ  และการเล่าเรื่องโดยการแสดงบทบาทสมมติ  พบว่าคะแนนการสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  (2)  ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์  พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่  1  ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องด้วยหุ่นมือ  คิดเป็นร้อยละ 38.70  แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2  ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องจากภาพ  คิดเป็นร้อยละ  60  แผนการจัดการเรียนรู้ที่  3  ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องโดยใช้บทบาทสมมติ  คิดเป็นร้อยละ  58.89  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องจากภาพ  คิดเป็นร้อยละ  57.78

           จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า  การเล่าเรื่องสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องตามหลักการพูด  และสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้  ดังนั้นครูผู้สอนสามารถนำการเล่าเรื่องไปใช้ในการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้ 


TITLE            Improving English Speaking Skill and Creative Thinking
                   by Using Storytelling
AUTHORS      Miss Khwanrudee  Boonpan   Miss Kanokporn  Chinnabut
                   Miss Kanokwan  Ruangcharn   Miss Niramon  Samorn
ADVISOR        Assoc.Prof.Dr.Thooptong  Kwangsawad

Abstract

  The purposes of this research were:  (1)  to compare the results of pre-test and post-test of English speaking skill by using storytelling including telling story with puppets, telling story with pictures and telling story by doing the role play.  (2)  to find out creative thinking during using storytelling. The sample of this research was 36 Pratomsuksa  6/1  students of Thetsaban Si Sawat Witthaya School selected by using purposive sampling technique. The instruments of this research were  4  lesson plans for developing English speaking skill and creative thinking by using telling story with puppets,  telling story with pictures,  and telling story by doing the role play,  English speaking test,  and creative thinking assessment. The collected data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation, and dependent t-test.
  The results of data analysis showed that:  (1)  the results of pre-test and   post-test of speaking skill by using storytelling, showed that the post-test scores were higher than pre-test at the  .05 level of significance,  (2)  the results of creative thinking were  38%  for the first lesson plan,  the second lesson plan  (60%),  the third lesson plan  (60%),  and the fourth lesson plan  (57.78%).
  In conclusion, teaching English speaking skill by using storytelling could improve students’ English speaking skill and creative thinking. Thus, teachers could use storytelling techniques for teaching English speaking skill and creative thinking.





         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น